กิจกรรมที่ 9.13 จัดงานเทศกาลของดีเกาะยอ ประจำปี 2568
ปีงบประมาณ
2568
วัตถุประสงค์โครงการ
1 เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับชาวบ้านและธุรกิจท้องถิ่น โดยการสนับสนุนและพัฒนาสินค้าพื้นเมืองให้ก้าวไกลไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น
2 เพื่อรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของเกาะยอให้คงอยู่และเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
3 เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนโดยการจัดอบรมและสัมมนาเพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ในด้านต่าง ๆ
ที่จะช่วยให้ชุมชนสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
5 เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมและสัมผัสกับความงามและวิถีชีวิตของเกาะยอในแบบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
6 เพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรชุมชนในการพัฒนาที่ยั่งยืน
สรุปผลโครงการ
เชิงปริมาณ : 1 ชุมชนตำบลเกาะยอได้รับการพัฒนา Soft power อย่างน้อย 1 ชุมชน
2 ชุมชนตำบลเกาะยอมีดัชนีความสุขมวลรวม (GVH) เพิ่มขึ้น จำนวน 1 ชุมชน
3 ชุมชนตำบลเกาะยอได้แสดงออกถึงอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนได้อย่างชัดเจน จำนวน 1 ชุมชน
ชิงคุณภาพ : 1 ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัยมีทักษะที่ดีขึ้นร้อยละ 20
2 ร้อยละ 60 ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนา Soft power โดยการนำอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าจำหน่ายได้
3 มหาวิทยาลัยมีฐานข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับของดีเกาะยอ จำนวน 1 องค์ความรู้
4 มีสื่อการรับรู้ Soft power จากอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยผ่านคลิปวีดีโอประชาสัมพันธ์ของดีเกาะยอ จำนวน 1 เรื่อง
5 มหาวิทยาลัยสามารถยกระดับชุมชนตำบลเกาะยอให้เป็นพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างน้อย 1 ชุมชน
6 มหาวิทยาลัยมีช่องทางใช้สื่อสร้างสรรค์ Soft power ที่สร้างสรรค์จากอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่นเกิดการรับรู้ได้อย่างน้อย 2 ช่องทาง
เชิงเวลา : สามารถดำเนินงานโครงการได้ทันตามเวลาที่กำหนด
เชิงต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรม : 283,000 บาท
ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต : 283,000/300 = 943.33 บาท/คน