0-7426-0200
info@skru.ac.th
Follow Us:

กิจกรรมที่ 5 สัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์มุ่งสู่การจัดการเรียนรู้(14,300 บาท)

ปีงบประมาณ

2568

วัตถุประสงค์โครงการ

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) คือการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้งจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการความรู้จึงได้จัดกิจกรรมประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์มุ่งสู่การจัดการความรู้ขึ้น โดยมีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของคณะซึ่งครอบคลุมพันธกิจด้านการเรียนการสอน และการวิจัย เพื่อให้มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) และเพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดซึ่งคณะจะได้มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) ต่อไป สำหรับด้านการเรียนการสอนเน้นเรื่องเทคนิคการสอนโดยใช้ AI และด้านการวิจัยเน้นเรื่อง AI กับการทำงานวิจัยในปัจจุบัน

สรุปผลโครงการ

5.1 เชิงปริมาณ ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 5.2 เชิงคุณภาพ มีแนวคิดด้านการจัดการความรู้ อย่างน้อย 2 ด้าน 5.3 เชิงเวลา สามารถจัดกิจกรรมได้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด 5.4 เชิงต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรม 7,150 บาท 5.5 ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต 7,150/40 = 178.75 บาท/คน