กิจกรรมที่ 25 อบรมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบกิจกรรมและการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ (ครูวิทยาศาสตร์ภาคสนาม)(16,000 บาท)
ปีงบประมาณ
2567
วัตถุประสงค์โครงการ
ท่ามกลางการเรียกร้องจากกระแสสังคม ความต้องการปฏิรูปการศึกษาไปสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการมุ่งเน้นเศรษฐกิจที่พึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้การพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากครูวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นทั้งผู้จุดประกาย จุดเริ่มต้น และหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาเพื่อสร้างคนและสังคมแห่งความรู้และนวัตกรรม และเตรียมคนเหล่านั้นให้เข้าสู่เศรษฐกิจในยุคไทยแลนด์ 4.0
การพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ให้เป็นครูและผู้นำการเรียนรู้ตามการปฏิรูปการศึกษานั้น นักวิชาการและฝ่ายต่าง ๆ ในสังคมต่างเรียกร้องให้มุ่งเน้นการพัฒนาครูแบบ “ฝึกคิดและปฏิบัติในสถานที่จริง” นอกจากนี้นักการศึกษาและนักจิตวิทยาการเรียนรู้ยังพยายามบ่งชี้ถึงการสร้างความรับผิดชอบ และความรักในวิชาชีพเพื่อเป็นพื้นฐานของการเป็นครูวิทยาศาสตร์ก่อนที่นักศึกษาเหล่านั้นจะเรียนรู้ความรู้ของครู (Teacher knowledge) ดังนั้นคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปจึงได้กำหนดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดค่ายและการออกแบบกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ขึ้น และวางแผนที่จะสอดแทรกการพัฒนาครูแบบ “ฝึกคิดและปฏิบัติในสถานที่จริง” ในระหว่างกระบวนการผลิตครูตั้งแต่ช่วงแรก เพื่อให้นักศึกษาครูวิทยาศาสตร์มีโอกาสค้นหาตนเอง มีใจรักในวิชาชีพ และค่อย ๆ พัฒนานักศึกษาเหล่านั้นไปสู่ครูผู้ฝึกคิด จนกระทั่งกลายเป็นผู้ชำนาญในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามความต้องการของสังคมและประเทศชาติ โดยใช้โรงเรียนและสถานที่จริงในการพัฒนา (School and Contextual based activities) เพื่อให้กระบวนการผลิตครูสอดคล้องและเป็นไปตามข้อกำหนด นโยบาย และกระแสสังคมไปพร้อม ๆ กัน
สรุปผลโครงการ
5.1 เชิงปริมาณ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ จำนวน 48 คน
เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 38 คน
5.2 เชิงคุณภาพ 5.2.1 นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ใช้ทักษะการสื่อสาร และการวิเคราะห์เพื่อสร้าง
ความเข้าใจให้กับผู้เรียน ในระดับคะแนนประเมินเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51
5.2.2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะการสื่อสารในระดับคะแนนประเมินเฉลี่ยไม่น้อยกว่า
3.51 คะแนนขึ้นไป
5.2.3 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการคิด และทักษะเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 ในระดับคะแนนประเมินเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51
5.3 เชิงเวลา สามารถดำเนินการเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด
5.4 เชิงต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรม : 16,000
5.5 ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต : 16,000/48 = 333.33 บาท/คน