0-7426-0200
info@skru.ac.th
Follow Us:


Warning: Undefined array key "job_name" in C:\xampp\htdocs\th\01-1.php on line 176

ปีงบประมาณ

2567

วัตถุประสงค์โครงการ

พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กล่าวไว้ ในหมวด 4 แนวทางการจัดการศึกษาที่เน้นความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องบูรณาการ ความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมอันดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ซึ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ไว้ 4 ประการ เช่น รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ประการ คือ ความสามารถ ในการสื่อสาร ความสามารถด้านการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และ สมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียน ที่กล่าวมา มีความสำคัญในการดำเนินการพัฒนาผู้เรียนของครูผู้สอน โดยสามารถนําไปปรับใช้ ในการสร้างรูปแบบกระบวนการและกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ของตนเองได้ เพื่อปลูกฝังและพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ คู่คุณธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และมีสมรรถนะสำคัญ สำหรับการดำรงชีวิตในสังคม และนโยบาย สพฐ. ปี 66 ข้อ 3 ด้านคุณภาพการศึกษา ข้อ 3.5 ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านวิชาการด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ผ่านแพลตฟอร์ม ออนไลน์ต่าง ๆ พัฒนาผู้บริหารให้มี “ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง” ปรับบริบทของครูจาก “ผู้สอน” เป็น "โค้ช" ที่อํานวยการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มุ่งสู่การยกระดับครูสู่วิชาชีพชั้นสูง มีจรรยาบรรณ และมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งมีจิตวิญญาณความเป็นครูสมรรถนะหลักของครูในด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู และสมรรถนะ ตามสายปฏิบัติงานในด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนและการบริหารจัดการ ชั้นเรียนถือเป็นสมรรถนะที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาสมรรถนะครูดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้เกิดการสร้างผลผลิตหรือผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการเรียนรู้ เข้าใจ หลักการ วิธีการและองค์ความรู้ใหม่ที่มีความหลากหลายในสังคมทำให้สามารถพัฒนา ปรับปรุง และสามารถสร้างผลผลิตทางนวัตกรรมรูปแบบใหม่เพื่อให้เกิดการยกระดับการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน ด้วยการปลูกฝัง จิตวิญญาณความเป็นครู มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการกำกับ ติดตาม ให้คําชี้แนะในการจัดการเรียนรู้ ในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครูทุกภูมิภาคได้รับการพัฒนาได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้คำปรึกษา ในการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นครูมืออาชีพ และจากการดำเนินโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ Active Learning แบบ Fundamental AL Training ที่ผ่านมาทำให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาด้านกระบวนการการจัดการเรียนรู้ Active Learning แบบ Fundamental AL Training และได้นําไปจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามบริบทของตนเอง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาครูด้าน Active Learning โดยสำนักต่าง ๆ ได้แก่ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา หน่วยศึกษานิเทศก์ รวมถึงหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าวข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาสมรรถนะครูสู่มืออาชีพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านคุณธรรม จริยธรรม การปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นครู มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) และมีการพัฒนา ตนเองเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) สอดคล้องกับสมรรถนะ วิชาชีพทั้งยังจัดให้มีพี่เลี้ยงสามารถให้คำปรึกษาแนะนํา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้คำปรึกษาถึงห้องเรียน กระจายทุกภูมิภาค ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ทำให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีนวัตกรรมการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกที่ประสบความสำเร็จ หรือ ผลงานที่เป็นแบบอย่างได้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามที่หลักสูตรกำหนด

สรุปผลโครงการ

- เชิงปริมาณ 1) ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่อยู่ในเครือข่าย เข้าร่วมการพัฒนาไม่น้อยกว่า 550 คน - เชิงคุณภาพ 1) ผู้เข้ารับการพัฒนามีความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับครู คุณลักษณะของครูที่ดี และสามารถนำไปปรับใช้กับผู้เรียนได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 2) ผู้เข้ารับการพัฒนาผ่านการอบรมและปลูกจิตวิญญาณความเป็นครูให้มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดยผ่านเกณฑ์การประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 - เชิงเวลา สามารถดำเนินโครงการ/จัดกิจกรรมเสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนด

คลิกดูข้อมูลประชาสัมพันธ์